บทวิเคราะห์ตลาด 1 – 5 พฤษภาคม 2566

3 พฤษภาคม 2023 By Weerapat Wongsri

Share

บทวิเคราะห์ XAUUSD 1 – 5 พฤษภาคม 2566

แนวโน้มราคาทองคำนั้นมีมุมมองเชิงบวกในระยะกลาง ถึงแม้การปิดแท่งแรงซื้อของสัปดาห์ที่ผ่านมาจะบ่งบอกถึงการสูญเสียโมเมนตัมแรงซื้อเนื่องจากการเทขายระหว่างสัปดาห์ก็ตาม แต่ราคายังคงเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบแคบซึ่งอยู่เหนือแนวรับ 1960 หรือ High ล่าสุดของราคาในไทม์เฟรม Weekly ซึ่งมีความเป็นไปได้สูงมากที่ราคาจะยังคงสวิงตัวหรือปรับฐานพักตัวระหว่างแนวรับ 1960 และแนวต้าน 2000 และสามารถปรับตัวขึ้นต่อได้อีกเพื่อทดสอบแนวต้าน 2070 ซึ่งเป็นแนวต้านสำคัญในระดับไทม์เฟรม Weekly และเป็นแนวราคาที่ทองคำเคยขึ้นไปทำไว้ได้มากสุดในประวัติศาสตร์
การคาดการณ์ราคาทองคำนั้น ในระยะสั้นราคาจะมีการสวิงตัวระหว่างแนวรับ 1960 และแนวต้าน 2000 เพื่อที่จะไซด์เวย์หรือปรับฐานพักตัว ณ บริเวณแนวราคาดังกล่าวจนกว่าราคาจะมีทิศทางที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น โดยหากมีการปรับตัวขึ้นต่อ แนวต้านที่น่าจับตามองคือ 2000 และ 2012 ตามลำดับ แต่หากมีการปรับตัวลงมาแนวรับ 1976 และ 1960 คือแนวรับสำคัญที่ควรติดตามอย่างใกล้ชิด

บทวิเคราะห์ GBPUSD 1 – 5 พฤษภาคม 2566

แนวโน้ม GBPUSD นั้นมีมุมมองเชิงบวกในระยะกลาง โดยปัจจุบันราคามีการปรับตัวขึ้นมาทดสอบและไซด์เวย์ปรับฐาน ณ บริเวณโซนแนวต้านสำคัญที่ราคานั้นเคยสร้างรูปแบบ Double Top ในระดับไทม์เฟรม Daily อย่าง 1.24470 ด้วยโมเมนตัมแรงซื้อที่มีมาอย่างต่อเนื่องเมื่อดูจากแท่งเทียนแรงซื้อในไทม์เฟรม Weekly อีกทั้งราคาก็ยังไม่ปรากฏแท่งเทียนแรงขายให้เห็นได้อย่างเด่นชัด บ่งบอกถึงความชัดเจนของแน้มโน้มขาขึ้นทั้งระยะสั้นและระยะกลางจากการที่ราคานั้นสามารถ Break Out ขึ้นไปยืนบนแนวต้าน 1.24470 ได้ในที่สุด
การคาดการณ์ราคานั้น มีแนวโน้มสูงมากที่ราคาจะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบแคประหว่างแนวรับ 1.24470 (ที่ราคามีการ Break Out ขึ้นมา) และแนวต้าน 1.26660 ซึ่งเป็นแนวต้านถัดไปในระดับไทม์เฟรม Daily เพื่อที่จะสร้าง High ใหม่ที่สูงขึ้น โดยแนวรับสำคัญ คือ 1.24470 และ 1.22700 ตามลำดับซึ่งเป็นแนวรับในระดับไทม์เฟรม H4 และ Daily ที่คาดการณ์ว่าราคาอาจจะมีการย่อตัวลงมาทดสอบ กรณีที่ราคาไม่สามารถยืนบนแนวต้าน 1.26660 และปรับตัวขึ้นไปต่อได้

อย่างไรก็ตาม นักลงทุนโดยส่วนใหญ่ต่างเฝ้าติดตามรายงานตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตรหรือ NFP (Nonfarm Payrolls) และรายงานตัวเลยอัตราการว่างงาน (Unemployment Rate) ในวันศุกร์ที่ 5 พฤษภาคมที่จะถึงนี้ ซึ่งจะมีผลต่อทิศทางราคา GBPUSD โดยตรง

บทวิเคราะห์ EURUSD 1 – 5 พฤษภาคม 2566

EURUSD ราคาสามารถมองได้ทั้งเชิงบวกและเชิงลบ เนื่องจากปัจจุบัน EURUSD มีการไซด์เวย์อยู่บริเวณแนวราคา 1.09900 ซึ่งเป็นแนวราคาของ High ก่อนหน้าในไทม์เฟรม Weekly และ Daily และเริ่มสูญเสียโมเมนตัมแรงซื้อเมื่อดูจากแท่งเทียนแรงซื้อในไทม์เฟรม Weekly ของสัปดาห์ที่ผ่านมามีการทิ้งไว้ลงมาในลักษณะของ Pin Bar (อย่างมีนัยสำคัญ) เนื่องจากราคาปิดของสัปดาห์ที่ผ่านมานั้นต่ำกว่าราคาที่สามารถปรับตัวขึ้นไปได้มากสุดของสัปดาห์ที่แล้ว หลังจากที่ปรับตัวขึ้นไปทดสอบ High ล่าสุด ก่อนจะมีแรงเทขายลงมาระหว่างสัปดาห์
การคาดการณ์ราคานั้น อาจมีทิศทางได้ทั้งขาขึ้นและขาลงในระยะสั้นและระยะกลางอย่างไทม์เฟรม Daily เนื่องจากการสูญเสียโมเมนตัมแรงซื้อของสัปดาห์ที่ผ่านมานั้นทำให้แนวโน้มหรือเทรนด์ของราคามีความชัดเจนที่น้อยลง หาก EURUSD สามารถไซด์เวย์และยืนบนแนวราคา 1.09900 ได้โดยไม่ Break Out ลงไปเสียก่อน เป้าหมายถัดไปที่ราคาจะปรับตัวขึ้นไปทดสอบ คือ แนวต้าน 1.11650 เพื่อที่จะสร้าง High ใหม่ที่สูงขึ้นกว่า High เดิม แต่ถ้าหากราคาไม่สามารถยืนบนแนวราคา 1.09900 แล้วปรับตัวขึ้นไปต่อยังแนวต้าน 1.11650 ได้ ก็มีความเป็นไปได้ที่ราคาจะปรับตังลงมาทดสอบบริเวณแนวรับ 1.08800
อย่างไรก็ตาม นักลงทุนโดยส่วนใหญ่ต่างเฝ้าติดตามรายงานตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตรหรือ NFP (Nonfarm Payrolls) และรายงานตัวเลยอัตราการว่างงาน (Unemployment Rate) ในวันศุกร์ที่ 5 พฤษภาคมที่จะถึงนี้ ซึ่งจะมีผลต่อทิศทางราคา EURUSD โดยตรง

Disclaimer: Articles are from GO Markets analysts and contributors and are based on their independent analysis or personal experiences. Views, opinions or trading styles expressed are their own, and should not be taken as either representative of or shared by GO Markets. Advice, if any, is of a ‘general’ nature and not based on your personal objectives, financial situation or needs. Consider how appropriate the advice, if any, is to your objectives, financial situation and needs, before acting on the advice. If the advice relates to acquiring a particular financial product, you should obtain and consider the Product Disclosure Statement (PDS) and Financial Services Guide (FSG) for that product before making any decisions.